เทคนิคการหา Keyword ให้กับเว็บไซต์ โดยใช้เครื่องมือของ Google
การเลือกใช้คีย์เวิร์ดในการทำเว็บไซต์พร้อมเทคนิคการทำ SEO เพื่อช่วยสร้างคุณภาพที่ดีให้กับเว็บไซต์ของคุณ หากเรามีการวิเคราะห์หรือใช้ Keywords ที่ค่อนข้างตรงใจผู้บริโภคหรือผู้ที่มีโอกาสเข้ามาเยี่ยมชมสินค้าหรือบริการของคุณ ดังนั้นการเลือกคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมจึงถือเป็นการออกแบบเว็บไซต์ที่ช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพ เพิ่มโอกาสการค้นหา และประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อโฆษณาหรือใช้เครื่องมือในการทำให้หน้าเว็บไซต์อันดับการค้นหาไปด้วย
Readyplanet จะมาแนะนำเทคนิคการทำเว็บไซต์โดยเลือก Keywords จากการใช้เครื่องมือพื้นฐานอย่าง Google ที่ใคร ๆ ก็ทำได้
Keyword บนหน้าเว็บไซต์คืออะไร?
เกริ่นแนะนำสำหรับผู้เริ่มต้นทำเว็บไซต์ และอาจมีคำถามว่า คีย์เวิร์ดที่พูดถึงนั้นคืออะไร อธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ เช่น หากคุณกำลังทำเว็บไซต์ขายอุปกรณ์ออกกำลังกาย ให้เปรียบเทียบว่าลูกค้าของคุณจะเริ่มค้นหาจากคำใดบน Google ไม่ว่าจะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นหรือต้องการสินค้านั้นมาช่วยแก้ปัญหา ค้นหาจากประเภทสินค้านั้นโดยตรง บริการหรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น “อุปกรณ์ออกกำลังกายที่บ้าน” "เครื่องยกน้ำหนักยี่ห้อไหนดี" "อุปกรณ์ฟิตเนส" "ลู่วิ่งไฟฟ้า" คำเหล่านี้เองที่เป็นคีย์เวิร์ดสำคัญ
เครื่องมือสำหรับหา Keyword มีประโยชน์อย่างไร
- ใช้ดูจำนวนการค้นหาคำที่เราต้องการว่ามีผลการค้นหามากน้อยเพียงใด
- ในการเลือกใช้คีย์เวิร์ด สามารถวิเคราะห์ความยาก-ง่ายเพื่อแข่งขันกับเจ้าอื่น ๆ บนการค้นหา
- แนะนำคีย์เวิร์ดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำที่ค้นหา เพื่อประกอบการพิจารณาคีย์เวิร์ดหลักที่ต้องการ
- ช่วยประเมินราคาค่าคลิกของคีย์เวิร์ดในกรณีทำโฆษณาบน Google
รู้จักกับประเภทของคีย์เวิร์ด
หลังจากทราบความสำคัญของคีย์เวิร์ดในการทำเว็บไซต์แล้ว ลองมาทำความรู้จักกับประเภทของคีย์เวิร์ดกันต่อ โดยขอแบ่งเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. Compare Keyword (คีย์เวิร์ดเปรียบเทียบ) เป็นการค้นหาคีย์เวิร์ดเพื่อเปรียบเทียบสิ่งที่ต้องการ 2 สิ่งขึ้นไปเพื่อประกอบการตัดสินใจ เช่น รีวิวเครื่องดื่มน้ำผลไม้ เปรียบเทียบยี่ห้อหนึ่งกับอีก 2 ยี่ห้อ เป็นต้น
2. Long Tail Keyword (คีย์เวิร์ดคำยาว) ส่วนมากจะเป็นรูปแบบ niche keyword (เป็นคำค่อนข้างเฉพาะ ไม่ได้แพร่หลาย) มีความเจาะลึก มักเกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อได้ทำการค้นหาข้อมูลเรียบร้อยและอยู่ในขั้นตอนเตรียมตัดสินใจซื้อ จึงมักเป็นการระบุรายละเอียดลงไป เช่น กล้องยี่ห้อ... รุ่น… ปี… เป็นต้น เนื่องจากคำค้นหาที่เฉพาะเจาะจง แม้ว่าปริมาณการค้นหาน้อยลง แต่การแข่งขันก็ไม่สูงมากเช่นกัน
3. Definition Keyword (คีย์เวิร์ดคำนิยาม) คีย์เวิร์ดที่สื่อความหมายหรือคำนิยามของคำนั้น เช่น การทานคีโตคืออะไร? Intermittent Fasting (IF) คืออะไร?
4. Short Term Fresh Keyword (คีย์เวิร์ดใหม่ตามกระแส) คำค้นหาประเภทนี้มักอิงตามกระแสที่เกิดขึ้น เมื่อมีการเลือกใช้จะช่วยเพิ่มปริมาณการเยี่ยมชมเว็บไซต์มากขึ้น แต่เมื่อผ่านไปอาจจะลดลงไปตามความนิยม ซึ่งต้องพิจารณาดูว่าเหมาะสมกับธุรกิจของเราหรือไม่
5. Geographic Keyword (คีย์เวิร์ดระบุสถานที่) หากธุรกิจของคุณมีหน้าร้าน คีย์เวิร์ดที่ระบุสถานที่จะช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงและยอดขาย เช่นบริการร้านทำเล็บ ตัวอย่างคีย์เวิร์ด “ทำเล็บเจล เริ่มต้น 200 บาท สยามสแควร์” เป็นต้น
แนะนำเทคนิคการหา Keyword จากเครื่องมือ Google Keyword Planner
เครื่องมือของ Google ที่เราจะมาแนะนำวันนี้คือ Google Keyword Planner นั่นเอง สำหรับใช้วางแผนคีย์เวิร์ดว่า คำที่เราต้องการมีการค้นหาหรือได้รับความนิยมเท่าไหร่ และมีอัตราการแข่งขันอยู่สูงมากแค่ไหน ราคาค่าคลิกต่อครั้งเท่าไหร่ หากเลือกได้อย่างเหมาะสมจะช่วยส่งผลต่อการทำ SEO ให้ได้คุณภาพมากขึ้น และอันดับการค้นหาบนหน้า Google ก็จะดีขึ้นเช่นกัน วิธีการใช้งานไม่ยาก โดยคุณจะต้องมีบัญชี Google Ads ก่อน สามารถสมัครได้ที่ https://ads.google.com/ หากผู้ประกอบการมีบัญชี Google Ads อยู่แล้ว ให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
1. คลิกที่ Tools เลือก Keyword Planner
2. จะเจอหน้า Discover new keyword และ Get search volume and forecasts ให้คลิกเลือก Discover new keyword แล้วป้อนคำที่ต้องการค้นหาเบื้องต้น เลือก Loacation ที่เราต้องการดูผลลัพธ์การค้นหา ถ้าต้องการกลุ่มลูกค้าในไทยเลือกประเทศไทยได้เลย จากนั้นเลือก GET RESULTS
3. ผลการค้นหาด้านล่างจะประกอบไปด้วยคีย์เวิร์ดที่เราใส่ และคีย์เวิร์ดที่ Google แนะนำเพิ่มเติม หรือ keyword ideas, การแสดง search volume หรือผลการค้นหาเฉลี่ยต่อเดือน (Avg. monthly searchs), Competition (อัตราการแข่งขัน), Top of page bid ราคาเสนอสูงสุดและต่ำสุดโดยประมาณในการ bid สำหรับทำโฆษณา (ในส่วนนี้หากต้องการหาคีย์เวิร์ดเบื้องต้น แนะนำข้ามไปก่อนเพื่อความไม่สับสน) และสามารถเลือก period (ช่วงระยะเวลา) เช่น แสดงผล 12 เดือนย้อนหลังได้
4. ซึ่งคำค้นหาเหล่านี้ คุณสามารถนำหยิบมาใช้เพื่อใส่ SEO Keyword ให้กับเว็บไซต์ของคุณได้ และยังสามารถนำมาใช้วิเคราะห์ในการวางงบประมาณเพื่อที่จะซื้อคีย์เวิร์ดที่เหมาะสมเพื่อช่วยให้โฆษณาแสดงต่อลูกค้าที่เหมาะสมบนโฆษณา Google Ads ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการวิเคราะห์คีย์เวิร์ดให้ได้คุณภาพ
อย่างที่อธิบายไปว่าการทำเว็บไซต์และต้องการการคลิกเข้าเว็บไซต์จากคีย์เวิร์ดที่ตรงกับคำค้นหาของผู้บริโภคเพื่อทำให้เว็บไซต์ของคุณมีคุณภาพ ต้องรู้จักหลักการ 5W2H นั่นคือ What - Who - Where - When - Why - How - How much
What - สินค้าอะไร? (เช่น อุปกรณ์ออกกำลังกาย ดัมเบล เสื่อโยคะ)
Who - ใครคือลูกค้าของคุณ? (คนรักการออกกำลังกาย คนที่ไม่เข้าฟิตเนส คนที่ต้องการลดน้ำหนัก)
Where - ลูกค้าของคุณอยู่ที่ไหน? (อาจมีได้ทั้งกรณีออนไลน์ ในส่วนของการระบุพื้นที่จัดส่ง หรือหน้าร้านที่ควรระบุพิกัดร้านค้า เช่น กรุงเทพฯ)
When - เมื่อไหร่ที่ต้องการสินค้าเหล่านี้? (เช่น เมื่อไหร่ เวลาใด หรือโอกาสใดที่ลูกค้าต้องการสินค้าของคุณ และต้องการบ่อยแค่ไหน)
Why - ทำไมลูกค้าต้องซื้อสินค้านี้? (อะไรคือจุดแข็งที่ลูกค้าจะเลือกซื้อสินค้าของคุณแทนคู่แข่ง)
How - เข้าถึงลูกค้าอย่างไร? (ช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์ ผ่านแพลตฟอร์มใด)
How Much - ราคาที่จำหน่ายสินค้า? (ถือเป็นปัจจัยหลักในการเลือกซื้อสินค้ายุคนี้เลยทีเดียว)
เมื่อเราตั้งคำถาม และตอบคำถามจากหลัก 5W2H ได้แล้ว และได้การรีเสิร์ชคีย์เวิรด์จากการใช้เครื่องมือของ Google จะช่วยให้คีย์เวิร์ดได้ประสิทธิภาพและมีโอกาสตรงกับความต้องการของลูกค้าในอนาคตคุณ คีย์เวิร์ดเหล่านี้สามารถนำไปใส่ในส่วนต่าง ๆ ของการทำเว็บไซต์ รวมไปถึงการทำโฆษณาเพื่อให้เว็บไซต์ติดเสริ์ชหน้าแรกในอนาคตได้เช่นกัน ทั้งนี้อย่าลืมวิเคราะห์ search volume เพื่อเพิ่มโอกาสการค้นเจอแต่ก็อย่าลืมชั่งน้ำหนักจากอัตราการแข่งขัน (competition) ด้วยว่าอยู่ในระดับที่สูง ปานกลาง หรือต่ำ เพราะคีย์เวิร์ดที่ดีควรมีการค้นหาที่เกิดขึ้นจริงและมีผลลัพธ์อ้างอิงบน Google Keyword Planner ด้วย ไม่ว่าจะเป็นคำที่อาจผิดหลักไวยากรณ์ หรือคำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่มีหลาย ๆ คำค้นหา เป็นต้น
หลังจากรู้เทคนิคการเลือกคีย์เวิร์ดในการทำ SEO เพื่อช่วยให้การทำเว็บไซต์ได้คุณภาพและมีโอกาสค้นหาเจอในหน้าแรกแล้ว ลองตรวจสอบกันด้วยว่าธุรกิจออนไลน์ของคุณมีการออกแบบเว็บไซต์ที่รองรับ SEO หรือเปล่า หรืออยู่ในขั้นตอนเริ่มต้นทำเว็บไซต์ที่ยังไม่แน่ใจว่าใช้เว็บไหนดี เว็บไซต์สำเร็จรูป จึงเป็นอีกตัวเลือกที่น่าสนใจในการเริ่มต้นทำธุรกิจและต่อเนื่องไปในระยะยาว Readyplanet ขอแนะนำ R-Web แพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ ที่มาพร้อมเครื่องมือช่วยคุณทำการตลาดแบบครบถ้วนพร้อมบริการให้คำปรึกษาฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หรือจะทดลองสมัครใช้งานฟรีก่อนก็ได้เช่นกัน
R-Web จาก Readyplanet ดีอย่างไร?
อันดับแรกคือเป็นเว็บไซต์สำเร็จรูปที่เหมาะกับผู้เริ่มต้นทำเว็บไซต์ธุรกิจของตัวเอง เพราะใช้งานง่าย เว็บสวย ออกแบบไม่ยากด้วย template สำเร็จรูปที่เป็นหนึ่งในฟังก์ชันเด่นของ R-Web สิ่งสำคัญยังรองรับระบบ SEO ช่วยให้ลูกค้าในอนาคตของคุณค้นหาคีย์เวิร์ดที่วางแพลนและเพิ่มโอกาสการเยี่ยมชมเว็บไซต์มากขึ้น พร้อมเครื่องมือที่ตอบโจทย์อีกมากมายไม่ว่าจะเป็น R-Shop ระบบร้านค้าออนไลน์ ช่วยให้ทีมงานบริหารจัดการเพิ่มเติมสินค้า เลือกขนาด สี ไซซ์ต่าง ๆ นำไปสู่การสังซื้อผ้านหน้าเว็บไซต์ได้จริง, Chatday กล่องแชทบนเว็บที่ช่วยให้การติดต่อของคุคณกับลูกค้ารวดเร็วยิ่งขึ้น, R-Widget ปุ่มรวมช่องทางติดต่อที่ไม่ใช่แค่หน้าเว็บไซต์ แต่รวมไปถึงทุกช่องทางบนโซเชียลมีเดียวของธุรกิจคุณ, R-CRM ระบบบริหารจัดการลูกค้า ติด label ให้รายชื่อลูกค้าเป็นระเบียบ รวมถึงแทร็กข้อมูลสำคัญได้อีกด้วย ยังไม่หมดแค่นี้แต่มีออีกมากมายที่พร้อมช่วยเสริมประสิทธิภาพให้ธุรกิจสามารถรองรับลูกค้าได้ทันทีตั้งแต่วันแรกที่เริ่มออนไลน์